ครั้งที่ 1 – ครูเสดนอร์เวย์ – ครั้งที่ 2 – ครั้งที่ 3ครูเสดลิโวเนีย – ครูเสดเยอรมัน – ครั้งที่ 4ครูเสดแอลบิเจนเซียน – ครูเสดเด็ก – ครั้งที่ 5ครูเสดปรัสเซีย – ครั้งที่ 6 – ครั้งที่ 7ครูเสดคนเลี้ยงแกะ – ครั้งที่ 8 – ครั้งที่ 9ครูเสดอารากอน – ครูเสดอเล็กซานเดรียยุทธการนิโคโปลิส – ครูเสดตอนเหนือ – สงครามฮุสไซท์ครูเสดวาร์นา – ออตโตมันรุกรานโอตรันโตสงครามออตโตมัน-ฮังการี – สงครามออตโตมัน-ฮับส์บูร์ก
สงครามครูเสดครั้งที่ 8 (อังกฤษ: Eighth Crusade) (ค.ศ. 1270) สงครามครูเสดครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270 บางครั้ง “สงครามครูเสดครั้งที่ 8” ก็นับเป็นครั้งที่เจ็ด ถ้ารวมสงครามครูเสดครั้งที่ 5 และ ครั้งที่ 6 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้าเป็นครั้งเดียวกัน และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ก็นับเป็นครั้งเดียวกับครั้งที่ 8
พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และ สาธารณรัฐเจนัวต่อสู้กันในสงครามระหว่างปี ค.ศ. 1256 ถึงปี ค.ศ. 1260 ในการโจมตีเมืองท่าในซีเรียที่ทั้งสองสาธารณรัฐควบคุม เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1265 ไบบาร์ก็ยึดนาซาเร็ธ, ไฮฟา, โตรอน และ อาร์ซุฟ ได้ พระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัสพระมหากษัตริย์ในนามแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลมขึ้นฝั่งที่อัคโคเพื่อรักษาเมืองขณะที่ไบเบอร์เดินทัพขึ้นไปทางเหนือถึงอาร์มีเนียซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของมองโกล
เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่รวบรวมกองกำลังเพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1267 แม้ว่าจะไม่มีผู้สนับสนุนเท่าใดนัก นักพงศาวดารฌอนเดอฌวนวิลล์ (Jean de Joinville) ผู้ติดตามพระเจ้าหลุยส์ไปในสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ไม่ยอมติดตามไปด้วย พระอนุชาชาร์ลส์แห่งอองชูทรงหว่านล้อมให้พระเจ้าหลุยส์โจมตีตูนิสก่อนเพื่อจะใช้เป็นฐานที่มั่นในการเข้าโจมตีอียิปต์ จุดประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ทำสงครามครั้งก่อนหน้านั้น (ครั้งที่ 6) และในครั้งที่ 5ก่อนรัชสมัยของพระองค์ต่างก็พ่ายแพ้ที่นั่น ชาร์ลส์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งซิซิลีมีพระประสงค์ส่วนพระองค์ในการขยายอำนาจในเมดิเตอเรเนียน กาหลิปแห่งตูนิส Muhammad I al-Mustansirเองก็ทรงมีความสัมพันธ์กับคริสเตียนในสเปนสเปนและถือว่าเป็นผู้ที่จะง่ายชักชวนให้มานับถือคริสต์ศาสนา ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1270 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงขึ้นฝั่งแอฟริกา แต่กองทัพก็ล้มเจ็บกันเป็นแถวเพราะน้ำดื่มที่ไม่สะอาด จอห์น ซอร์โรว์พระราชโอรสที่เกิดที่ดามิเอตตาก็มาสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พระเจ้าหลุยส์เองก็เสด็จสวรรคตด้วย “flux in the stomach” หนึ่งวันหลังจากที่พระอนุชาเสด็จมาถึง พระวจนะสุดท้ายคือ “เยรูซาเลม” ชาร์ลส์จึงประกาศให้ฟิลิปพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของฝรั่งเศส แต่ฟิลิปยังทรงพระเยาว์ชาร์ลส์จึงกลายเป็นผู้นำของสงครามครูเสด
แต่กองทหารก็ยังถูกบั่นทอนด้วยโรคร้ายซึ่งทำให้การล้อมเมืองตูนิสต้องยุติลงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมโดยตกลงกับสุลต่าน ในข้อตกลงนี้ฝ่ายคริสเตียนสามารถทำการค้าขายอย่างเสรีกับตูนิสได้ และที่พำนักสำหรับนักบวชในเมืองก็ได้รับการการันตี ฉะนั้นสงครามครูเสดครั้งนี้จึงถือว่าได้รับความสำเร็จอยู่บ้าง หลังจากได้รับข่าวการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์แล้วสุลต่านมามลุคไบบาร์แห่งอียิปต์ก็ยกเลิกแผนที่จะส่งกองทัพอียิปต์ไปต่อสู้กับพระเจ้าหลุยส์ในตูนิส ขณะเดียวกันชาร์ลส์ก็ไปเป็นพันธมิตรกับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษผู้เพิ่งเสด็จมาถึง เมื่อชาร์ลส์ยกเลิกการโจมตีตูนิส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดก็ตัดสินใจเดินทางต่อไปยังอัคโคที่เป็นที่มั่นครูเสดสุดท้ายในซีเรียด้วยพระองค์เอง ช่วงระยะเวลาจากนั้นถือว่าเป็นช่วงเวลาของสงครามครูเสดครั้งที่ 9